ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

"ฅนวัฒนธรรม" มีความประสงค์ที่จะเป็นพื้นที่หนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้สนใจงานด้านวัฒนธรรม วัฒนธรรมศึกษาทุกแนว บทความต่าง ๆ ส่วนหนึ่งจะเป็นบทความของเพื่อนพ้องน้องพี่ที่สนใจ และส่วนหนึ่งก็จะนำเอาแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่น่าสนใจจากแหล่งต่าง ๆ มาเปิดความรู้ด้วยมิติทางวิชาการบ้างตามสมควร

ขอเรียนเชิญเพื่อนพ้องน้องพี่ที่สนใจส่งบทความมาลง หรือให้ข้อคิดเห็นได้ครับ
เชื่อมั่น
ครูตรินห์
trinmanee@gmail.com
-------------------------------------------------------------------------------------

Wednesday, December 6, 2006

ข้อคิดเห็นจากการเข้าร่วมสัมมนาเครือข่ายนักศึกษาวัฒนธรรมศึกษา ม.วลัยลักษณ์ ครั้งที่1-2

ข้อคิดเห็นจากการเข้าร่วมสัมมนาเครือข่ายนักศึกษาวัฒนธรรมศึกษา ม.วลัยลักษณ์ ครั้งที่1-2
******************************

จากการเข้าร่วมในครั้งแรก
ได้มีโอกาสที่ได้รู้จักรุ่นพี่ และรุ่นน้อง ที่เรียนสาขาเดียวกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโอกาสที่ได้พบกันในมหาวิทยาลัยได้พบกันเพียงแค่ผิวเผิน ไม่มีโอกาสพูดคุยกันมากนัก
ข้อสังเกต
1. ยังไม่ทราบเป้าหมายที่ชัดเจนของการรวมกลุ่ม .... หรือจะสร้างเครือข่ายเหมือนกับ หลายๆ กลุ่มหลายๆ องค์กรพยายามที่จะสร้างกัน..... ( หรือจะตั้งชมรมเหล้ายาปลาปิ้ง เพื่อพบปะสังสรรค์เฮฮากัน.........)
2. รูปแบบการพูดคุยเรื่องวิชาการ ( หรือเรื่องที่เป็น..สาระ) ไม่ควรจะนำเสนอในวงเหล้า ควรจะจัดบรรยากาศให้เหมาะสมในการพูดคุยมากกว่า
จากการเข้าร่วมในครั้งที่ 2
ข้อสังเกต
1. สถานที่ให้บรรยากาศดีในการพบปะพูดคุย
2. สมาชิกมาน้อยกว่าครั้งแรก ส่วนหนึ่งอาจจะสาเหตุจากบางคนติดธุระ หรือ ไม่อยากมา เพราะไม่เห็นประโยชน์ ไม่เห็นความสำคัญต่อการรวมกลุ่ม
3.รูปแบบการพูดคุยมีการนำงานวิชาการมาแลกเปลี่ยน...ถกเถียง...วิพากษ์วิจารณ์ซึ่งคิดว่าเป็นรูปแบบที่ดี และได้รับประโยชน์อย่างมาก....ได้สะท้อนมุมมอง ที่ผู้เขียนผลงานบางครั้งไม่ได้มองถึงบางจุดที่สำคัญ ...ข้อบกพร่องของงาน.....จุดเสริมเพิ่มเติมที่จะทำให้งานมีคุณภาพดีขึ้น.....
4. การพูดคุยงานวิชาการยังกระทำในวงเหล้าอยู่ ....( ผู้วิจารณ์ก็กินด้วย ) จึงอยากเสนอให้แบ่งช่วงให้ชัดเจน... เพื่อจะได้มีสติสัมปชัญญะ...ในการพูดคุย..แสดงความคิดเห็นได้ดีขึ้น
5. มีโอกาสได้พูดคุยกับคนที่มีภาษาเดียวกัน ......ถ้าพูดคุยกับเพื่อน..ญาติ..ที่ไม่ได้เรียนสาขานี้รู้สึกว่ามันไม่มันปาก..
ข้อเสนอแนะ
จากสภาพสังคมในปัจจุบัน พวกเราทุกคนอยู่ในสภาวะของการแข่งขันในทุกๆเรื่อง การเรียน การทำงาน การใช้ชีวิต ( ความรัก ) ทำให้ทุกคนอยู่ในสภาวะที่ต้องเอาตัวรอด ทำให้เกิดสภาวะของความเป็นปัจเจกบุคคลเพิ่มมากขึ้น คนในสังคมปัจจุบันหลุดออกมาจากพันธะผูกพันที่เคยมีกับสถาบันเก่าอื่นๆ เช่น ครอบครัว ชุมชน ศาสนา ฯลฯ แต่คนเราไม่ว่าในยุคสมัยใดก็จำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อภารกิจบางอย่าง เป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ตาม และอย่างน้อยก็เพื่อปลอบประโลมใจให้ปัจเจกหรือตัวตนของตนเองได้รับการยอมรับจากคนอื่น....( นิธิ เอียวศรีวงศ์ ใน “ยุคสมัยไม่เชื่ออย่าลบหลู่” )

ผู้เขียนเสนอความคิดที่ว่า “ การที่กลุ่มคนต่างๆจะมาพบปะติดต่อสัมพันธ์ย่อมอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ โดยไม่ได้จำกัดเพียงแค่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีผลประโยชน์ทางด้านสัญลักษณ์.......ดังเช่น ... การยอมรับการมีตัวตนภายในกลุ่ม .....อยากมีเพื่อคุย. กับคนที่มีคอเดียวกัน..... อยากได้รับความช่วยเหลือในด้านการเรียน....”
ข้อเสนอประการสุดท้ายเพื่อการขยายผลทำให้กลุ่ม ...... วัฒนธรรมวลัย....( ขอเสนอชื่กลุ่ม หรือเครือข่าย )ให้ดำรงอยู่......สร้างสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นในสังคม...ควรจะดำเนินการดังนี้
1. การตั้งชื่อกลุ่ม
2. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบงานต่างๆ ( พร้อมตัวแทนที่พร้อมจะปฏิบัติงานแทน)
3. กำหนดเป้าหมายของกลุ่มให้ชัดเจน ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
4. สอบถามความคิดเห็นในการกำหนดรูปแบบกิจกรรมในแต่ละครั้ง
5. สรุปงานกิจกรรมเผยแพร่ ให้สมาชิกและคนนอกให้รับรู้ ( ประชาสัมพันธ์ )

เอก รุ่น 5ยรสฟ


No comments: