ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
"ฅนวัฒนธรรม" มีความประสงค์ที่จะเป็นพื้นที่หนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้สนใจงานด้านวัฒนธรรม วัฒนธรรมศึกษาทุกแนว บทความต่าง ๆ ส่วนหนึ่งจะเป็นบทความของเพื่อนพ้องน้องพี่ที่สนใจ และส่วนหนึ่งก็จะนำเอาแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่น่าสนใจจากแหล่งต่าง ๆ มาเปิดความรู้ด้วยมิติทางวิชาการบ้างตามสมควร
ขอเรียนเชิญเพื่อนพ้องน้องพี่ที่สนใจส่งบทความมาลง หรือให้ข้อคิดเห็นได้ครับ
เชื่อมั่น
ครูตรินห์
trinmanee@gmail.com
-------------------------------------------------------------------------------------
ขอเรียนเชิญเพื่อนพ้องน้องพี่ที่สนใจส่งบทความมาลง หรือให้ข้อคิดเห็นได้ครับ
เชื่อมั่น
ครูตรินห์
trinmanee@gmail.com
-------------------------------------------------------------------------------------
Thursday, October 16, 2008
ตัวตนคนไม้เรียง
จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ที่เป็นพื้นที่ที่มีวิถีชีวิตและวิถีการผลิตครบทั้ง ๓ ลักษณะ คือ ทั้งที่เป็นพื้นที่ริมฝั่งทะเล พื้นที่ราบ ชายฝั่งลุ่มน้ำและพื้นที่สูงภูเขา ซึ่งทำให้ชุมชนมีวิถีชีวิตและวิถีการผลิต ที่พึ่งพาอาศัยกันและกันมาตั้งแต่อดีตจนมี "ตำนานเกลอเขาเกลอเล" เกิดขึ้น เป็นเครื่องยืนยันถึงความสัมพันธ์ดังกล่าว
ชุมชนไม้เรียง เป็นชุมชนหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า ๑๐๐ ปี มีการต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ของชุมชนอย่างเข้มข้นชุมชนหนึ่ง จนได้รับการยอมรับว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีการพึ่งตนเองภายในชุมชนสูง อันเป็นผลมาจากการมีวิถีชีวิตและการผลิตที่สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน และมีการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลของชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมีส่วนสำคัญในการ เผยแพร่และพัฒนาแนวคิดนี้ออกไปสู่ชุมชนรอบข้าง จนเกิดเครือข่าย "ยมนา" ขึ้นและยังก้าวไปสู่การมีส่วนผลักดันในระดับนโยบายอีกด้วย ชุมชนไม้เรียงจึงได้รับการยอมรับให้เป็นชุมชนต้นแบบอีกชุมชนหนึ่งที่เชื่อมั่นและยึดถือแนวคิดการพึ่งตนเอง
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงกระจายอำนาจการปกครองไปสู่หัวเมือง โดยแบ่งการปกครองออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอและจังหวัด ตำบลไม้เรียงอยู่ในพื้นที่ราบสูงเชิงเขาศูนย์ มีประชากรอาศัยอยู่ไม่กี่ครอบครัว เรียกว่า "บ้านทุ่งดอกไม้" หรือ "บ้านทุ่งไหม้" ในปัจจุบัน ต่อมาชุมชนได้มีการขยายตัวออกเรื่อยๆ จนมีประชากรพอที่จะตั้งตำบลได้ เจ้าหน้าที่จากอำเภอฉวางจึงได้เดินทางมาสำรวจภูมิประเทศในพื้นที่นี้ ได้เดินทางผ่านทุ่งนาแถวบ้านเกาะเหรียง เมื่อหันหน้าไปทางเขาศูนย์ มองเห็นทิวไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเรียงลำต้นกันเป็นแถวตั้งแต่ริมทุ่งไปจรดยอดเขา ดูแล้วเป็นระเบียบสวยงามมาก จึงได้เกิดมีชื่อ "ตำบลไม้เรียง" นับตั้งแต่นั้นมา
ตำบลไม้เรียง เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งแร่ที่สำคัญของชาติ เดิมมีการขุดแร่วุลแฟรมกันมากบนเขาศูนย์ ต่อมาทางกองทัพภาคที่ ๔ เห็นว่าพื้นที่เขาศูนย์เป็นแหล่งซ่องสุมกำลังและเสบียงอาหารของฝ่ายที่มีอุดมการณ์เป็นปฏิปักษ์กับการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดความไม่สงบ ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ เกิดขึ้น โดยขณะนั้นแม่ทัพภาคที่ ๔ (พลเอกหาญ ลีนานนท์) ได้กำหนด "นโยบายใต้ร่มเย็น ๒/๒๕๒๓" เพื่อเป็นการยุติสถานการณ์ที่มีความรุนแรงภายในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและทุกพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ จากการที่ได้นำนโยบายดังกล่าวมาใช้ ทำให้การขุดแร่บนเขาศูนย์ถูกปิดนับตั้งแต่นั้นมา
ไม้เรียง : กับสวนยาง
ชุมชนไม้เรียง เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตและวิถีการผลิตเหมือนกับชาวใต้ ที่มีแหล่งที่ตั้งชุมชนตามไหล่เขาทั่วๆ ไป คือมีอาชีพทำสวนยางเป็นอาชีพหลัก เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นภูเขา ส่วนพื้นที่ราบก็จะมีการทำสวนผลไม้และทำนา การประกอบอาชีพของชาวชุมชนไม้เรียงในอดีตไม่ได้มุ่งไปที่การผลิตเพื่อขาย แต่มีลักษณะเป็นการผลิตแบบสังคมบุพกาล คือผลิตเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างกัน มีการนำไปขายบ้างก็มีเพียงจำนวนน้อย
การประกอบอาชีพสวนยางก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้นไม่ได้ทำเป็นอาชีพหลักเช่นในปัจจุบัน มีการปลูกยางตามธรรมชาติ มีการทำนา และหาของป่า เป็นต้น แต่เมื่อปี ๒๕๐๕ ได้เกิดมหาวาตภัยทำให้บ้านเรือน ทรัพย์สินต่างๆ รวมทั้งยางพาราเสียหายแทบทั้งหมด เกิดความยากลำบากอย่างมาก ชาวบ้านจึงได้เริ่มฟื้นฟูชุมชนและอาชีพ โดยการปลูกยางพาราในพื้นที่ที่โดนพายุทำลาย และในปี ๒๕๐๖ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่ให้การสนับสนุนการทำสวนยางแก่ชาวบ้าน โดยให้ชาวบ้านปลูกในระบบ อุตสาหกรรมตามแบบสมัยใหม่คือปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นเหตุให้ชาวบ้านยึดเอาการปลูกยางเป็นอาชีพหลักนับแต่นั้นมา
ไม้เรียง : การดำรงอยู่และเปลี่ยนแปลงของชุมชน
ชาวชุมชนไม้เรียงตั้งแต่ดั้งเดิมมามีลักษณะเป็นเครือญาติ ที่สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษที่บุกเบิกชุมชนมา ๔ ตระกูล คือ รณฤทธิ์ , โนวัฒน์, อุบล และไม้เรียง การขยายตัวเติบโตขึ้นของชุมชนไม้เรียงเกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ปัจจัยภายใน ก็คือการแยกและขยายครอบครัวของลูกหลานคนไม้เรียง ปัจจัยภายนอก คือ การเคลื่อนย้ายเข้ามาของคนในชุมชนใกล้เคียง และอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากคนและธรรมชาติ เป็นผลให้ชุมชนไม้เรียงมี ปฏิสัมพันธ์กับภายนอกมากขึ้น ซึ่งได้แก่
มีการให้สัมปทานตัดไม้ ในพื้นที่ตำบลไม้เรียง ชาวบ้านไม้เรียงได้มาเป็นผู้รับจ้างบริษัทสัมปทาน ผลที่ตามมาก็คือได้มีการขยายที่ทำกินกันมากขึ้น เมื่อป่าธรรมชาติที่ถูกตัดโค่นเสื่อมโทรมลง
มีการตัดทางรถไฟสายใต้ผ่านตำบลไม้เรียง เป็นการเปิดชุมชนออกสู่โลกกว้าง และเกิดการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายถิ่นที่เข้ามา
เกิดเหตุวาตภัยเมื่อปี ๒๕๐๕ ทำให้ผลผลิตของชุมชนได้รับความเสียหายแทบทั้งหมด ทั้งไม้ผลและยางพารา ชาวบ้านแทบสิ้นเนื้อประดาตัว มีเพียงนาข้าวและการปลูกพืชระยะสั้นหลังวาตภัยเท่านั้นที่ยังพอพยุงชุมชนอยู่ได้
ต่อมาทางกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางก็ได้เข้ามาช่วยเหลือในการฟื้นฟูอาชีพการทำสวนยาง พื้นที่ทำกินของชุมชนเกือบทั้งหมดยกเว้นที่นาก็กลายเป็นสวนยางพาราในช่วงนี้เอง
ชุมชนไม้เรียงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นับจากปัจจัยภายนอกเข้ามามีอิทธิพลในการกำหนดการตัดสินใจเลือกวิถีการผลิตและวิถีชีวิต นับจากนั้นเป็นต้นมา ไม้เรียงก็ก้าวเข้าสู่ระบบเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวที่มียางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งกำหนดชีวิตและการเปลี่ยนแปลงที่ตามมา การปฏิสัมพันธ์ที่เคยมีอยู่ในแวดวงเฉพาะชุมชนหรือชุมชนใกล้เคียงก็เริ่มขยายไปสู่ภายนอกมากยิ่งขึ้นตามกระแสทุนนิยม
ในช่วงเริ่มต้นการปลูกยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ชุมชนไม้เรียงต้องประสบกับปัญหาสภาวะราคาตกต่ำ การทำยางแผ่นส่งขายพ่อค้าถูกขูดรีดอย่างหนัก เพราะพ่อค้ามีทุนและข้อมูลข่าวสารการตลาดอยู่ในมือ ทำให้ชุมชนไม่มีพลังต่อรองใดๆ
ต่อมาในปี ๒๕๑๐ กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ได้จัดประกวดยางแผ่นขึ้น ในงานเทศกาลปีใหม่ที่อำเภอฉวาง เพื่อส่งเสริมการปรับยางแผ่นให้มีคุณภาพ ชุมชนไม้เรียงก็ได้ส่งยางแผ่นเข้าร่วมประกวดด้วย ภายหลังการประกวดปรากฏว่ามีพ่อค้ามาประมูลยางแผ่นทั้งหมด ในราคาสูงกว่าท้องตลาดกิโลกรัมละ ๑ - ๒ บาท ทำให้ชุมชนได้เริ่มเรียนรู้ว่า การที่จะทำให้ยางมีราคาดีได้นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของยาง แต่เทคโนโลยีการผลิตของชาวบ้านยังต่ำ เป็นการผลิตแบบดั้งเดิมคือใช้มือทำทุกกระบวนการ จึงทำให้คุณภาพยางแผ่นไม่สม่ำเสมอ
จากการเรียนรู้ดังกล่าว ผู้นำชุมชนจึงได้ร่วมวิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพยางแผ่นร่วมกัน และได้ติดต่อทางเกษตรอำเภอฉวาง เพื่อขอไปศึกษาดูงานการผลิตยางแผ่นอบแห้งที่องค์การสวนยางนาบอน จากการไปศึกษาดูงานของผู้นำชุมชนในครั้งนั้น ทำให้ได้เรียนรู้ว่าวิธีการผลิตยางให้ได้คุณภาพ และได้ปริมาณมากๆ นั้น ต้องมีเครื่องมือในการผลิตที่มีประสิทธิภาพ แต่การเริ่มต้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีการลงทุนสูง ลำพังเพียงผู้นำชุมชนไม่กี่คนนั้นไม่สามารถจะทำได ้ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชนด้วย
กลุ่มผู้นำชุมชนจึงเริ่มทำงานทางความคิดกับชาวบ้าน โดยอาศัยช่วงเวลาที่ชาวบ้านรวมกลุ่มหมุนเวียนกันไปทำงานในสวนยางของสมาชิก ที่เรียกกันว่า "ซอมือ" หรือ "ลงแขก" ซึ่งการทำงานเพื่อขยายความคิดนี้ใช้เวลาประมาณ ๒ ปี จนชาวบ้านเริ่มเข้าใจ และเห็นด้วยที่จะร่วมกันผลิตยางที่มีคุณภาพ
ต่อมาจึงได้มีการเตรียมการตามแผนงานของชุมชน โดยได้ไปศึกษาดูงานที่โรงงานขององค์การสวนยางนาบอนอีกครั้ง แต่ชุมชนเห็นว่าเครื่องจักรไม่ทันสมัย จึงได้ไปศึกษาดูงานของโรงงานของเอกชนที่ อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโรงงานที่ทันสมัย การดูงานของเอกชนนี้แม้จะไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนจากโรงงานมากนัก แต่ชาวบ้านก็ได้นำสิ่งที่เรียนรู้จากการศึกษาดูงานทั้ง ๒ แห่งมาคุยกัน จนได้ข้อสรุปร่วมกัน ว่าจะต้องมีการสร้างโรงงานแปรรูปยางพาราของชุมชนขึ้น แต่เมื่อศึกษาถึงต้นทุนการผลิตแล้วก็เกิดปัญหา เพราะโรงงานที่มีกำลังการผลิต ๑๐ ตัน ต้องใช้งบประมาณถึง ๑๑ ล้านบาท จึงได้มาร่วมคิดกันในแกนนำ พบว่ามีทางออก คือสร้างโรงงานขนาดเล็ก และลดกำลังการผลิตลงโดยใช้ทุนในชุมชนเอง
ในการจัดระดมทุนเพื่อสร้างโรงงานนั้น นอกจากจะทำได้ไม่ง่ายแล้ว การจัดระบบการจัดการ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อสมาชิกชุมชนนั้นยิ่งยากกว่า จึงได้มีการประชุมหาแนวทางการจัดระบบการจัดการ เพื่อรองรับการสร้างโรงงานขึ้น ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าให้มีการจดทะเบียนเป็น "กลุ่มเกษตรกร" ขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สมาชิกในชุมชน นี่จึงเป็นอีกก้าวที่สำคัญของการพัฒนาชุมชนไม้เรียง
พัฒนาคน : นำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
จากการที่ชุมชนไม้เรียงได้มีการทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ก็ได้เกิดบทเรียนการพัฒนาชุมชน เพื่อนำไปสู่แนวคิดในเรื่องการพัฒนาคน โดยให้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา แกนนำของชุมชนได้มองเห็นว่าการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมในชุมชนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่เรื่องยากอยู่ที่ระบบการจัดการเรื่องคนที่จะเข้ามาดำเนินกิจกรรมของชุมชน ที่จะต้องทำให้เกิดความเชื่อมั่นขึ้น ในกลุ่มสมาชิกและชุมชน แกนนำชุมชนมีข้อสรุปร่วมกันว่า สำหรับชุมชนไม้เรียง "เงิน" ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุด แต่การพัฒนา "คน" มีความสำคัญกว่า เพราะเคยมีบทเรียนจากหลายที่ ที่เงินเป็นตัวทำให้คนแตกแยกมากกว่าทำให้เข้มแข็ง ดังนั้นชุมชนจึงคิดหาวิธีการที่จะใช้เงินมาเป็น "เครื่องมือ" ในการพัฒนาคน ไม่ใช่ให้เงินมาทำลายคน จากแนวคิดดังกล่าวได้ทำให้การพัฒนาชุมชนของไม้เรียงมีทิศทางมากยิ่งขึ้น มีการจัดตั้งสภาผู้นำตำบลไม้เรียง และศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้รียง ตลอดจนกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อฝึกคนในชุมชนด้านต่างๆ เพื่อสร้างและสนับสนุนระบบอุดมการณ์ของชุมชนไม้เรียง ที่มุ่งเน้นเรื่องการพึ่งตนเองให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งรัฐและหน่วยงานภายนอก
วิธีคิดนี้จึงเปรียบเสมือนการต่อสู้กับรัฐโดยอ้อม ในขณะที่รัฐยังเน้นเรื่องเศรษฐกิจทุนนิยม ที่มีภาพของกระแสการพึ่งตนเอง หรือเกษตรพอเพียงบังหน้า แต่ชุมชนกลับไม่สนใจแนวคิดของรัฐ ที่มีกระแสพึ่งตนเองที่แฝงไว้ด้วยระบบทุนนิยม ชุมชนหันมาให้ความสนใจกับชุมชนตนเอง มีการจัดทำ "แผนชุมชนพึ่งตนเอง" ที่กำหนดอนาคตของชุมชนทั้งวิถีชีวิตและวิถีการผลิต เพราะที่ผ่านมาชุมชนไม่ได้เป็นผู้คิดกำหนดวางอนาคตของชุมชนเอง ต้องพึ่งการคิดของผู้อื่นอยู่เรื่อยมา ดังที่ ประยงค์ รณรงค์ ประธานสภาผู้นำชุมชนไม้เรียงเคยพูดไว้ว่า "ที่ผ่านมาเราประสบปัญหามาโดยตลอด เพราะผู้อื่นมาคิดให้ แล้วให้เราทำ ทำแล้วก็เกิดปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ได้เป็นผู้วางแผนเอง เราก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาเองได้" ทั้งนี้โดยเน้นไปที่กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ให้ชุมชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความคิด สามารถตัดสินใจเอง ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่การอยู่ดีกินด และพึ่งตนเองได้ ของคนในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ประสบการณ์งานพัฒนา : บทสรุปเพื่อเรียนรู้
จากวิธีคิดและประสบการณ์งานพัฒนาของชุมชนไม้เรียง เป็นบทสรุปที่มาจากการทำงานหนักของผู้นำและสมาชิกในชุมชน เพื่อให้เป็นบทเรียนของชุมชนไม้เรียงเอง และชุมชนอื่นได้นำไปปรับพัฒนาให้เหมาะสมและยั่งยืนสืบไป จากประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมา ทำให้ชุมชนไม้เรียงได้เสนอถึงแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนต่อชุมชนทั่วประเทศว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นต้องให้ความสำคัญกับวิธีคิดหรือหลักคิด ดังนี้
๑. ทุกกิจกรรมเน้นการพัฒนาคนให้มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง มีการประสานร่วมมือพึ่งพาอาศัยกัน
๒. ทุกกิจกรรมเน้นการเรียนรู้ ให้ทุกคนรู้จักคิด รู้จักวางแผน ก่อนที่จะลงทุนทำอะไรต้องเข้าใจให้ชัดเจนก่อนที่จะลงมือทำ
๓. ทุกกิจกรรมมองการตลาดใกล้ตัวก่อน จากการสัมพันธ์ การร่วมมือ การเป็นเครือข่าย การซื้อขายแลกเปลี่ยน จะทำให้กลายเป็นธุรกิจที่มั่นคง ยั่งยืนได้ในอนาคต
๔. ทุกกิจกรรมเน้นการผลิตสิ่งที่จำเป็นตอบสนองความต้องการของชุมชนเป็นหลัก
๕. ทุกกิจกรรมเน้นการผลิตที่พอดี ด้วยการวางแผนตั้งแต่ต้น ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย การแปรรูป ภายใต้โควต้าและราคาขั้นต่ำ
จะเห็นได้ว่าจังหวะก้าวและการเติบโตของชุมชนไม้เรียงนั้นเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ว่ามั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้เห็นได้จากความเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดนิ่งของชุมชน กิจกรรมต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาอยู่เสมอ ชาวบ้านในชุมชนบอกว่าชุมชนไม้เรียงเป็นชุมชนเปิด ที่พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา ภายใต้ความเชื่อมั่นของคำว่า "การพึ่งตนเอง" ของชุมชน
ประสบการณ์งานพัฒนา : : สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ ในชุมชนไม้เรียง
ชุมชนไม้เรียงได้พัฒนาตัวเองและได้พิสูจน์ต่อสาธารณะมาในระดับหนึ่ง จนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เสมอ สามารถพึ่งตนเองได้ กลายเป็นสถานที่เรียนรู้และศึกษาดูงานของชุมชนหรือหน่วยงานอื่นๆ อยู่อย่างไม่ขาดสาย เปรียบเหมือนมหาวิทยาลัยชุมชนอีกแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ความเข้มแข็งและการพึ่งตนเองที่ได้รับการยอมรับ ย่อมไม่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือการยกย่องอันเกินจริง แต่มันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมภูมิรู้ ประสบการณ์จากการทำงานหนักในการพัฒนาของคนในชุมชน จนตกผลึกมาเป็นความสำนึกร่วมของชุมชนในการที่จะวางเป้าหมาย อุดมการณ์ของการพึ่งตนเอง ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนในอนาคต
สำนึกร่วมของชุมชน : ตัวตนคนไม้เรียง
การพัฒนาชุมชนที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งและความยั่งยืน จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางนั้น มิใช่ว่าจะเกิดจากการที่ผู้นำชุมชนทำงานแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ย่อมต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือ ความเชื่อมั่นของสมาชิกในชุมชนด้วย การที่สมาชิกในชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาชุมชนให้พึ่งตนเองได้นั้น สมาชิกย่อมมีสำนึกร่วมของความเป็นชุมชน อันเป็นการสำแดงให้เห็นถึงวิถีและพลังของชุมชน ในการขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยจุดมุ่งหมายร่วมกันของสมาชิกทั้งมวล
สำนึกร่วมของชุมชนไม้เรียงที่นำไปสู่การพึ่งตนเองที่สำคัญและเห็นได้ชัด ซึ่งนับเป็นตัวบ่งชี้ถึง อัตลักษณ์การพึ่งตนเองของชุมชนที่สำคัญมี ๗ ประการดังนี้
การมีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูลเป็นการบ่งบอกถึงวิถีการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่ าและคำนึงถึงประโยชน์ในระยะยาวและยั่งยืน
ความเป็นเครือญาติ ชุมชนไม้เรียงมีความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติกันสูง แม้ว่าจะมีคนนอกเข้าไปอยู่บ้างในฐานะเขย สะใภ้ หรือเข้ามาอยู่อาศัยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน แต่ก็มีความผสมกลมกลืน ทำให้การพัฒนาชุมชนดำเนินไปในทิศทางที่ชุมชนต้องการ
วิธีคิดของผู้นำชุมชน ผู้นำชุมชนไม้เรียงมีวิธีคิดที่มองไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนในอนาคต โดยเริ่มมองจากการพึ่งตัวเองภายในชุมชนเป็นหลัก เมื่อชุมชนมีความเข้มแข็งก็ค่อยๆ ขยายวิธีคิดออกไปสู่ชุมชนอื่นๆ พร้อมทั้งพัฒนาชุมชนของตนเองไปพร้อมกัน ซึ่งผู้นำชุมชนไม้เรียงก่อนที่จะเป็นที่เชื่อถือก็ได้ใช้เวลาในการพิสูจน์ตนเองต่อชาวชุมชนมาอย่างยาวนานพอสมควร
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชุมชนไม้เรียงเป็นชุมชนที่มีการเรียนรู้อยู่เสมอ เห็นได้จากการเกิดกลุ่มกิจกรรมมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอยู่เสมอ การเรียนรู้ของชุมชนไม้เรียงจึงเป็นการเรียนรู้เพื่อนำมาปรับใช้ในชุมชนเป็นอันดับแรก ไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อที่จะออกไปสู่นอกชุมชน
สำนึกแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งเป็นสำนึกร่วมของชุมชนในการที่จะพัฒนากิจกรรมต่างๆ เพื่อความอยู่รอดของชุมชนโดยรวม โดยไม่ได้คิดถึงเรื่องที่จะอยู่รอดเพียงปัจเจก เห็นได้ชัดจากการก่อเกิดกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนและค่อยๆ ขยายออกสู่ชุมชนข้างเคียงที่พัฒนาไปสู่การรวมตัวกันเป็นเครือข่ายในที่สุด
มีสำนึกขบถ ชุมชนไม้เรียงมีความขัดแย้งและการต่อสู้กับรัฐ ตั้งแต่สมัยที่ถูกทางราชการถือว่าเป็นผู้มีอุดมการณ์เป็นปฏิปักษ์กับรัฐในอดีต แม้ว่าเหตุการณ์คลี่คลายมาจนถึงปัจจุบัน แต่สำนึกขบถ การดื้อแพ่งต่อรัฐก็ยังคงมีอยู่ตามคติที่ว่า "ไม่รบนายไม่หายจน" แม้ว่าจะไม่ได้ "รบนาย" โดยตรงเช่นในอดีต แต่วิถีปฏิบัติของชุมชนในการที่จะบอกว่าไม่เชื่อฟังรัฐก็มีอยู่อย่างเข้มข้น เช่น ในเรื่องแผนแม่บทการพัฒนายางพาราไทย ที่รัฐไม่ได้ยอมรับ แต่ชุมชนก็ยังดื้อแพ่งที่จะปฏิบัติต่อตามความคิดและความเชื่อของชุมชน เครือข่าย ซึ่งเป็นวิธีคิดที่อิงอยู่กับปรัชญาการพึ่งตนเองของชุมชน
การประนีประนอมประสานประโยชน์เพื่อชุมชน แม้ว่าชุมชนไม้เรียงจะมีวิถีปฏิบัติที่ขัดแย้งกับรัฐอยู่บ้างดังที่กล่าวมาแล้วบ้างก็ตาม แต่หากสิ่งใดที่ชุมชนมองว่าเป็นโอกาส และเป็นผลประโยชน์ของชุมชนโดยรวม ชุมชนก็พร้อมที่จะประสาน ประนีประนอมกับหน่วยงานข้างนอก ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อประโยชน์ของชุมชน
อุดมการณ์ "พึ่งตนเอง" : บทสรุปของชุมชนไม้เรียง
การอยู่ในสังคมมิใช่การอยู่แบบปัจเจก แต่เป็นการอยู่ร่วมกัน มีการพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือกัน อันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไทยมาตั้งแต่อดีต แต่ในขณะเดียวกัน การพึ่งพาช่วยเหลือก็ตั้งอยู่บนฐานของการพึ่งพาตนเองได้ในระดับหนึ่ง เพราะการพึ่งพาตนเองมิใช่การไม่มีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนภายนอก แต่การพึ่งตนเองของชุมชนนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเสริมศักยภาพและพลังของชุมชน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอุดมการณ์สูงสุดของชุมชน นั่นคือ "อุดมการณ์แห่งการพึ่งตนเอง"
ชุมชนไม้เรียงเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีวิถีชีวิต วิถีการผลิตที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ดังกล่าว ซึ่งจะเห็นได้ชัดในการที่จะดำรงชุมชนอยู่โดยอาศัยศักยภาพของชุมชนเอง ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล และความคิด และมีการเชื่อมโยงประสานจนก่อเกิดเครือข่ายชุมชนต่างๆ ที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและพลังอำนาจของชุมชนในการต่อรอง ต่อสู้กับกระแสที่เข้ามารุกรานความเป็นชุมชน
ชุมชนไม้เรียงจึงเป็นชุมชนที่สามารถพิสูจน์ตัวตนที่เด่นชัด ภายใต้คำยอดฮิตของ "ชุมชนเข้มแข็ง" และ "ชุมชนพึ่งตนเอง" ในปัจจุบัน
ตฤณ สุขนวล
เผยแพร่ครั้งแรกใน "วิถีไทย วิถีทางสู่ชุมชนพึ่งตนเอง" พ.ศ.๒๕๔๕
ชุมชนไม้เรียง เป็นชุมชนหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า ๑๐๐ ปี มีการต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ของชุมชนอย่างเข้มข้นชุมชนหนึ่ง จนได้รับการยอมรับว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีการพึ่งตนเองภายในชุมชนสูง อันเป็นผลมาจากการมีวิถีชีวิตและการผลิตที่สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน และมีการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลของชุมชนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมีส่วนสำคัญในการ เผยแพร่และพัฒนาแนวคิดนี้ออกไปสู่ชุมชนรอบข้าง จนเกิดเครือข่าย "ยมนา" ขึ้นและยังก้าวไปสู่การมีส่วนผลักดันในระดับนโยบายอีกด้วย ชุมชนไม้เรียงจึงได้รับการยอมรับให้เป็นชุมชนต้นแบบอีกชุมชนหนึ่งที่เชื่อมั่นและยึดถือแนวคิดการพึ่งตนเอง
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงกระจายอำนาจการปกครองไปสู่หัวเมือง โดยแบ่งการปกครองออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอและจังหวัด ตำบลไม้เรียงอยู่ในพื้นที่ราบสูงเชิงเขาศูนย์ มีประชากรอาศัยอยู่ไม่กี่ครอบครัว เรียกว่า "บ้านทุ่งดอกไม้" หรือ "บ้านทุ่งไหม้" ในปัจจุบัน ต่อมาชุมชนได้มีการขยายตัวออกเรื่อยๆ จนมีประชากรพอที่จะตั้งตำบลได้ เจ้าหน้าที่จากอำเภอฉวางจึงได้เดินทางมาสำรวจภูมิประเทศในพื้นที่นี้ ได้เดินทางผ่านทุ่งนาแถวบ้านเกาะเหรียง เมื่อหันหน้าไปทางเขาศูนย์ มองเห็นทิวไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเรียงลำต้นกันเป็นแถวตั้งแต่ริมทุ่งไปจรดยอดเขา ดูแล้วเป็นระเบียบสวยงามมาก จึงได้เกิดมีชื่อ "ตำบลไม้เรียง" นับตั้งแต่นั้นมา
ตำบลไม้เรียง เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งแร่ที่สำคัญของชาติ เดิมมีการขุดแร่วุลแฟรมกันมากบนเขาศูนย์ ต่อมาทางกองทัพภาคที่ ๔ เห็นว่าพื้นที่เขาศูนย์เป็นแหล่งซ่องสุมกำลังและเสบียงอาหารของฝ่ายที่มีอุดมการณ์เป็นปฏิปักษ์กับการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดความไม่สงบ ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ เกิดขึ้น โดยขณะนั้นแม่ทัพภาคที่ ๔ (พลเอกหาญ ลีนานนท์) ได้กำหนด "นโยบายใต้ร่มเย็น ๒/๒๕๒๓" เพื่อเป็นการยุติสถานการณ์ที่มีความรุนแรงภายในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและทุกพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ จากการที่ได้นำนโยบายดังกล่าวมาใช้ ทำให้การขุดแร่บนเขาศูนย์ถูกปิดนับตั้งแต่นั้นมา
ไม้เรียง : กับสวนยาง
ชุมชนไม้เรียง เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตและวิถีการผลิตเหมือนกับชาวใต้ ที่มีแหล่งที่ตั้งชุมชนตามไหล่เขาทั่วๆ ไป คือมีอาชีพทำสวนยางเป็นอาชีพหลัก เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นภูเขา ส่วนพื้นที่ราบก็จะมีการทำสวนผลไม้และทำนา การประกอบอาชีพของชาวชุมชนไม้เรียงในอดีตไม่ได้มุ่งไปที่การผลิตเพื่อขาย แต่มีลักษณะเป็นการผลิตแบบสังคมบุพกาล คือผลิตเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างกัน มีการนำไปขายบ้างก็มีเพียงจำนวนน้อย
การประกอบอาชีพสวนยางก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้นไม่ได้ทำเป็นอาชีพหลักเช่นในปัจจุบัน มีการปลูกยางตามธรรมชาติ มีการทำนา และหาของป่า เป็นต้น แต่เมื่อปี ๒๕๐๕ ได้เกิดมหาวาตภัยทำให้บ้านเรือน ทรัพย์สินต่างๆ รวมทั้งยางพาราเสียหายแทบทั้งหมด เกิดความยากลำบากอย่างมาก ชาวบ้านจึงได้เริ่มฟื้นฟูชุมชนและอาชีพ โดยการปลูกยางพาราในพื้นที่ที่โดนพายุทำลาย และในปี ๒๕๐๖ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่ให้การสนับสนุนการทำสวนยางแก่ชาวบ้าน โดยให้ชาวบ้านปลูกในระบบ อุตสาหกรรมตามแบบสมัยใหม่คือปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นเหตุให้ชาวบ้านยึดเอาการปลูกยางเป็นอาชีพหลักนับแต่นั้นมา
ไม้เรียง : การดำรงอยู่และเปลี่ยนแปลงของชุมชน
ชาวชุมชนไม้เรียงตั้งแต่ดั้งเดิมมามีลักษณะเป็นเครือญาติ ที่สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษที่บุกเบิกชุมชนมา ๔ ตระกูล คือ รณฤทธิ์ , โนวัฒน์, อุบล และไม้เรียง การขยายตัวเติบโตขึ้นของชุมชนไม้เรียงเกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ปัจจัยภายใน ก็คือการแยกและขยายครอบครัวของลูกหลานคนไม้เรียง ปัจจัยภายนอก คือ การเคลื่อนย้ายเข้ามาของคนในชุมชนใกล้เคียง และอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากคนและธรรมชาติ เป็นผลให้ชุมชนไม้เรียงมี ปฏิสัมพันธ์กับภายนอกมากขึ้น ซึ่งได้แก่
มีการให้สัมปทานตัดไม้ ในพื้นที่ตำบลไม้เรียง ชาวบ้านไม้เรียงได้มาเป็นผู้รับจ้างบริษัทสัมปทาน ผลที่ตามมาก็คือได้มีการขยายที่ทำกินกันมากขึ้น เมื่อป่าธรรมชาติที่ถูกตัดโค่นเสื่อมโทรมลง
มีการตัดทางรถไฟสายใต้ผ่านตำบลไม้เรียง เป็นการเปิดชุมชนออกสู่โลกกว้าง และเกิดการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายถิ่นที่เข้ามา
เกิดเหตุวาตภัยเมื่อปี ๒๕๐๕ ทำให้ผลผลิตของชุมชนได้รับความเสียหายแทบทั้งหมด ทั้งไม้ผลและยางพารา ชาวบ้านแทบสิ้นเนื้อประดาตัว มีเพียงนาข้าวและการปลูกพืชระยะสั้นหลังวาตภัยเท่านั้นที่ยังพอพยุงชุมชนอยู่ได้
ต่อมาทางกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางก็ได้เข้ามาช่วยเหลือในการฟื้นฟูอาชีพการทำสวนยาง พื้นที่ทำกินของชุมชนเกือบทั้งหมดยกเว้นที่นาก็กลายเป็นสวนยางพาราในช่วงนี้เอง
ชุมชนไม้เรียงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นับจากปัจจัยภายนอกเข้ามามีอิทธิพลในการกำหนดการตัดสินใจเลือกวิถีการผลิตและวิถีชีวิต นับจากนั้นเป็นต้นมา ไม้เรียงก็ก้าวเข้าสู่ระบบเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวที่มียางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งกำหนดชีวิตและการเปลี่ยนแปลงที่ตามมา การปฏิสัมพันธ์ที่เคยมีอยู่ในแวดวงเฉพาะชุมชนหรือชุมชนใกล้เคียงก็เริ่มขยายไปสู่ภายนอกมากยิ่งขึ้นตามกระแสทุนนิยม
ในช่วงเริ่มต้นการปลูกยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ชุมชนไม้เรียงต้องประสบกับปัญหาสภาวะราคาตกต่ำ การทำยางแผ่นส่งขายพ่อค้าถูกขูดรีดอย่างหนัก เพราะพ่อค้ามีทุนและข้อมูลข่าวสารการตลาดอยู่ในมือ ทำให้ชุมชนไม่มีพลังต่อรองใดๆ
ต่อมาในปี ๒๕๑๐ กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ได้จัดประกวดยางแผ่นขึ้น ในงานเทศกาลปีใหม่ที่อำเภอฉวาง เพื่อส่งเสริมการปรับยางแผ่นให้มีคุณภาพ ชุมชนไม้เรียงก็ได้ส่งยางแผ่นเข้าร่วมประกวดด้วย ภายหลังการประกวดปรากฏว่ามีพ่อค้ามาประมูลยางแผ่นทั้งหมด ในราคาสูงกว่าท้องตลาดกิโลกรัมละ ๑ - ๒ บาท ทำให้ชุมชนได้เริ่มเรียนรู้ว่า การที่จะทำให้ยางมีราคาดีได้นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของยาง แต่เทคโนโลยีการผลิตของชาวบ้านยังต่ำ เป็นการผลิตแบบดั้งเดิมคือใช้มือทำทุกกระบวนการ จึงทำให้คุณภาพยางแผ่นไม่สม่ำเสมอ
จากการเรียนรู้ดังกล่าว ผู้นำชุมชนจึงได้ร่วมวิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพยางแผ่นร่วมกัน และได้ติดต่อทางเกษตรอำเภอฉวาง เพื่อขอไปศึกษาดูงานการผลิตยางแผ่นอบแห้งที่องค์การสวนยางนาบอน จากการไปศึกษาดูงานของผู้นำชุมชนในครั้งนั้น ทำให้ได้เรียนรู้ว่าวิธีการผลิตยางให้ได้คุณภาพ และได้ปริมาณมากๆ นั้น ต้องมีเครื่องมือในการผลิตที่มีประสิทธิภาพ แต่การเริ่มต้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีการลงทุนสูง ลำพังเพียงผู้นำชุมชนไม่กี่คนนั้นไม่สามารถจะทำได ้ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชนด้วย
กลุ่มผู้นำชุมชนจึงเริ่มทำงานทางความคิดกับชาวบ้าน โดยอาศัยช่วงเวลาที่ชาวบ้านรวมกลุ่มหมุนเวียนกันไปทำงานในสวนยางของสมาชิก ที่เรียกกันว่า "ซอมือ" หรือ "ลงแขก" ซึ่งการทำงานเพื่อขยายความคิดนี้ใช้เวลาประมาณ ๒ ปี จนชาวบ้านเริ่มเข้าใจ และเห็นด้วยที่จะร่วมกันผลิตยางที่มีคุณภาพ
ต่อมาจึงได้มีการเตรียมการตามแผนงานของชุมชน โดยได้ไปศึกษาดูงานที่โรงงานขององค์การสวนยางนาบอนอีกครั้ง แต่ชุมชนเห็นว่าเครื่องจักรไม่ทันสมัย จึงได้ไปศึกษาดูงานของโรงงานของเอกชนที่ อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโรงงานที่ทันสมัย การดูงานของเอกชนนี้แม้จะไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนจากโรงงานมากนัก แต่ชาวบ้านก็ได้นำสิ่งที่เรียนรู้จากการศึกษาดูงานทั้ง ๒ แห่งมาคุยกัน จนได้ข้อสรุปร่วมกัน ว่าจะต้องมีการสร้างโรงงานแปรรูปยางพาราของชุมชนขึ้น แต่เมื่อศึกษาถึงต้นทุนการผลิตแล้วก็เกิดปัญหา เพราะโรงงานที่มีกำลังการผลิต ๑๐ ตัน ต้องใช้งบประมาณถึง ๑๑ ล้านบาท จึงได้มาร่วมคิดกันในแกนนำ พบว่ามีทางออก คือสร้างโรงงานขนาดเล็ก และลดกำลังการผลิตลงโดยใช้ทุนในชุมชนเอง
ในการจัดระดมทุนเพื่อสร้างโรงงานนั้น นอกจากจะทำได้ไม่ง่ายแล้ว การจัดระบบการจัดการ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อสมาชิกชุมชนนั้นยิ่งยากกว่า จึงได้มีการประชุมหาแนวทางการจัดระบบการจัดการ เพื่อรองรับการสร้างโรงงานขึ้น ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าให้มีการจดทะเบียนเป็น "กลุ่มเกษตรกร" ขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สมาชิกในชุมชน นี่จึงเป็นอีกก้าวที่สำคัญของการพัฒนาชุมชนไม้เรียง
พัฒนาคน : นำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
จากการที่ชุมชนไม้เรียงได้มีการทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ก็ได้เกิดบทเรียนการพัฒนาชุมชน เพื่อนำไปสู่แนวคิดในเรื่องการพัฒนาคน โดยให้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา แกนนำของชุมชนได้มองเห็นว่าการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมในชุมชนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่เรื่องยากอยู่ที่ระบบการจัดการเรื่องคนที่จะเข้ามาดำเนินกิจกรรมของชุมชน ที่จะต้องทำให้เกิดความเชื่อมั่นขึ้น ในกลุ่มสมาชิกและชุมชน แกนนำชุมชนมีข้อสรุปร่วมกันว่า สำหรับชุมชนไม้เรียง "เงิน" ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุด แต่การพัฒนา "คน" มีความสำคัญกว่า เพราะเคยมีบทเรียนจากหลายที่ ที่เงินเป็นตัวทำให้คนแตกแยกมากกว่าทำให้เข้มแข็ง ดังนั้นชุมชนจึงคิดหาวิธีการที่จะใช้เงินมาเป็น "เครื่องมือ" ในการพัฒนาคน ไม่ใช่ให้เงินมาทำลายคน จากแนวคิดดังกล่าวได้ทำให้การพัฒนาชุมชนของไม้เรียงมีทิศทางมากยิ่งขึ้น มีการจัดตั้งสภาผู้นำตำบลไม้เรียง และศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้รียง ตลอดจนกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อฝึกคนในชุมชนด้านต่างๆ เพื่อสร้างและสนับสนุนระบบอุดมการณ์ของชุมชนไม้เรียง ที่มุ่งเน้นเรื่องการพึ่งตนเองให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งรัฐและหน่วยงานภายนอก
วิธีคิดนี้จึงเปรียบเสมือนการต่อสู้กับรัฐโดยอ้อม ในขณะที่รัฐยังเน้นเรื่องเศรษฐกิจทุนนิยม ที่มีภาพของกระแสการพึ่งตนเอง หรือเกษตรพอเพียงบังหน้า แต่ชุมชนกลับไม่สนใจแนวคิดของรัฐ ที่มีกระแสพึ่งตนเองที่แฝงไว้ด้วยระบบทุนนิยม ชุมชนหันมาให้ความสนใจกับชุมชนตนเอง มีการจัดทำ "แผนชุมชนพึ่งตนเอง" ที่กำหนดอนาคตของชุมชนทั้งวิถีชีวิตและวิถีการผลิต เพราะที่ผ่านมาชุมชนไม่ได้เป็นผู้คิดกำหนดวางอนาคตของชุมชนเอง ต้องพึ่งการคิดของผู้อื่นอยู่เรื่อยมา ดังที่ ประยงค์ รณรงค์ ประธานสภาผู้นำชุมชนไม้เรียงเคยพูดไว้ว่า "ที่ผ่านมาเราประสบปัญหามาโดยตลอด เพราะผู้อื่นมาคิดให้ แล้วให้เราทำ ทำแล้วก็เกิดปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ได้เป็นผู้วางแผนเอง เราก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาเองได้" ทั้งนี้โดยเน้นไปที่กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ให้ชุมชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ มีความคิด สามารถตัดสินใจเอง ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่การอยู่ดีกินด และพึ่งตนเองได้ ของคนในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ประสบการณ์งานพัฒนา : บทสรุปเพื่อเรียนรู้
จากวิธีคิดและประสบการณ์งานพัฒนาของชุมชนไม้เรียง เป็นบทสรุปที่มาจากการทำงานหนักของผู้นำและสมาชิกในชุมชน เพื่อให้เป็นบทเรียนของชุมชนไม้เรียงเอง และชุมชนอื่นได้นำไปปรับพัฒนาให้เหมาะสมและยั่งยืนสืบไป จากประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมา ทำให้ชุมชนไม้เรียงได้เสนอถึงแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนต่อชุมชนทั่วประเทศว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นต้องให้ความสำคัญกับวิธีคิดหรือหลักคิด ดังนี้
๑. ทุกกิจกรรมเน้นการพัฒนาคนให้มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง มีการประสานร่วมมือพึ่งพาอาศัยกัน
๒. ทุกกิจกรรมเน้นการเรียนรู้ ให้ทุกคนรู้จักคิด รู้จักวางแผน ก่อนที่จะลงทุนทำอะไรต้องเข้าใจให้ชัดเจนก่อนที่จะลงมือทำ
๓. ทุกกิจกรรมมองการตลาดใกล้ตัวก่อน จากการสัมพันธ์ การร่วมมือ การเป็นเครือข่าย การซื้อขายแลกเปลี่ยน จะทำให้กลายเป็นธุรกิจที่มั่นคง ยั่งยืนได้ในอนาคต
๔. ทุกกิจกรรมเน้นการผลิตสิ่งที่จำเป็นตอบสนองความต้องการของชุมชนเป็นหลัก
๕. ทุกกิจกรรมเน้นการผลิตที่พอดี ด้วยการวางแผนตั้งแต่ต้น ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย การแปรรูป ภายใต้โควต้าและราคาขั้นต่ำ
จะเห็นได้ว่าจังหวะก้าวและการเติบโตของชุมชนไม้เรียงนั้นเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ว่ามั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้เห็นได้จากความเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดนิ่งของชุมชน กิจกรรมต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาอยู่เสมอ ชาวบ้านในชุมชนบอกว่าชุมชนไม้เรียงเป็นชุมชนเปิด ที่พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา ภายใต้ความเชื่อมั่นของคำว่า "การพึ่งตนเอง" ของชุมชน
ประสบการณ์งานพัฒนา : : สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ ในชุมชนไม้เรียง
ชุมชนไม้เรียงได้พัฒนาตัวเองและได้พิสูจน์ต่อสาธารณะมาในระดับหนึ่ง จนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เสมอ สามารถพึ่งตนเองได้ กลายเป็นสถานที่เรียนรู้และศึกษาดูงานของชุมชนหรือหน่วยงานอื่นๆ อยู่อย่างไม่ขาดสาย เปรียบเหมือนมหาวิทยาลัยชุมชนอีกแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ความเข้มแข็งและการพึ่งตนเองที่ได้รับการยอมรับ ย่อมไม่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือการยกย่องอันเกินจริง แต่มันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมภูมิรู้ ประสบการณ์จากการทำงานหนักในการพัฒนาของคนในชุมชน จนตกผลึกมาเป็นความสำนึกร่วมของชุมชนในการที่จะวางเป้าหมาย อุดมการณ์ของการพึ่งตนเอง ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนในอนาคต
สำนึกร่วมของชุมชน : ตัวตนคนไม้เรียง
การพัฒนาชุมชนที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งและความยั่งยืน จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางนั้น มิใช่ว่าจะเกิดจากการที่ผู้นำชุมชนทำงานแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ย่อมต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือ ความเชื่อมั่นของสมาชิกในชุมชนด้วย การที่สมาชิกในชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาชุมชนให้พึ่งตนเองได้นั้น สมาชิกย่อมมีสำนึกร่วมของความเป็นชุมชน อันเป็นการสำแดงให้เห็นถึงวิถีและพลังของชุมชน ในการขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยจุดมุ่งหมายร่วมกันของสมาชิกทั้งมวล
สำนึกร่วมของชุมชนไม้เรียงที่นำไปสู่การพึ่งตนเองที่สำคัญและเห็นได้ชัด ซึ่งนับเป็นตัวบ่งชี้ถึง อัตลักษณ์การพึ่งตนเองของชุมชนที่สำคัญมี ๗ ประการดังนี้
การมีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูลเป็นการบ่งบอกถึงวิถีการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่ าและคำนึงถึงประโยชน์ในระยะยาวและยั่งยืน
ความเป็นเครือญาติ ชุมชนไม้เรียงมีความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติกันสูง แม้ว่าจะมีคนนอกเข้าไปอยู่บ้างในฐานะเขย สะใภ้ หรือเข้ามาอยู่อาศัยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน แต่ก็มีความผสมกลมกลืน ทำให้การพัฒนาชุมชนดำเนินไปในทิศทางที่ชุมชนต้องการ
วิธีคิดของผู้นำชุมชน ผู้นำชุมชนไม้เรียงมีวิธีคิดที่มองไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนในอนาคต โดยเริ่มมองจากการพึ่งตัวเองภายในชุมชนเป็นหลัก เมื่อชุมชนมีความเข้มแข็งก็ค่อยๆ ขยายวิธีคิดออกไปสู่ชุมชนอื่นๆ พร้อมทั้งพัฒนาชุมชนของตนเองไปพร้อมกัน ซึ่งผู้นำชุมชนไม้เรียงก่อนที่จะเป็นที่เชื่อถือก็ได้ใช้เวลาในการพิสูจน์ตนเองต่อชาวชุมชนมาอย่างยาวนานพอสมควร
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชุมชนไม้เรียงเป็นชุมชนที่มีการเรียนรู้อยู่เสมอ เห็นได้จากการเกิดกลุ่มกิจกรรมมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอยู่เสมอ การเรียนรู้ของชุมชนไม้เรียงจึงเป็นการเรียนรู้เพื่อนำมาปรับใช้ในชุมชนเป็นอันดับแรก ไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อที่จะออกไปสู่นอกชุมชน
สำนึกแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งเป็นสำนึกร่วมของชุมชนในการที่จะพัฒนากิจกรรมต่างๆ เพื่อความอยู่รอดของชุมชนโดยรวม โดยไม่ได้คิดถึงเรื่องที่จะอยู่รอดเพียงปัจเจก เห็นได้ชัดจากการก่อเกิดกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนและค่อยๆ ขยายออกสู่ชุมชนข้างเคียงที่พัฒนาไปสู่การรวมตัวกันเป็นเครือข่ายในที่สุด
มีสำนึกขบถ ชุมชนไม้เรียงมีความขัดแย้งและการต่อสู้กับรัฐ ตั้งแต่สมัยที่ถูกทางราชการถือว่าเป็นผู้มีอุดมการณ์เป็นปฏิปักษ์กับรัฐในอดีต แม้ว่าเหตุการณ์คลี่คลายมาจนถึงปัจจุบัน แต่สำนึกขบถ การดื้อแพ่งต่อรัฐก็ยังคงมีอยู่ตามคติที่ว่า "ไม่รบนายไม่หายจน" แม้ว่าจะไม่ได้ "รบนาย" โดยตรงเช่นในอดีต แต่วิถีปฏิบัติของชุมชนในการที่จะบอกว่าไม่เชื่อฟังรัฐก็มีอยู่อย่างเข้มข้น เช่น ในเรื่องแผนแม่บทการพัฒนายางพาราไทย ที่รัฐไม่ได้ยอมรับ แต่ชุมชนก็ยังดื้อแพ่งที่จะปฏิบัติต่อตามความคิดและความเชื่อของชุมชน เครือข่าย ซึ่งเป็นวิธีคิดที่อิงอยู่กับปรัชญาการพึ่งตนเองของชุมชน
การประนีประนอมประสานประโยชน์เพื่อชุมชน แม้ว่าชุมชนไม้เรียงจะมีวิถีปฏิบัติที่ขัดแย้งกับรัฐอยู่บ้างดังที่กล่าวมาแล้วบ้างก็ตาม แต่หากสิ่งใดที่ชุมชนมองว่าเป็นโอกาส และเป็นผลประโยชน์ของชุมชนโดยรวม ชุมชนก็พร้อมที่จะประสาน ประนีประนอมกับหน่วยงานข้างนอก ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อประโยชน์ของชุมชน
อุดมการณ์ "พึ่งตนเอง" : บทสรุปของชุมชนไม้เรียง
การอยู่ในสังคมมิใช่การอยู่แบบปัจเจก แต่เป็นการอยู่ร่วมกัน มีการพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือกัน อันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไทยมาตั้งแต่อดีต แต่ในขณะเดียวกัน การพึ่งพาช่วยเหลือก็ตั้งอยู่บนฐานของการพึ่งพาตนเองได้ในระดับหนึ่ง เพราะการพึ่งพาตนเองมิใช่การไม่มีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนภายนอก แต่การพึ่งตนเองของชุมชนนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเสริมศักยภาพและพลังของชุมชน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอุดมการณ์สูงสุดของชุมชน นั่นคือ "อุดมการณ์แห่งการพึ่งตนเอง"
ชุมชนไม้เรียงเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีวิถีชีวิต วิถีการผลิตที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ดังกล่าว ซึ่งจะเห็นได้ชัดในการที่จะดำรงชุมชนอยู่โดยอาศัยศักยภาพของชุมชนเอง ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล และความคิด และมีการเชื่อมโยงประสานจนก่อเกิดเครือข่ายชุมชนต่างๆ ที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและพลังอำนาจของชุมชนในการต่อรอง ต่อสู้กับกระแสที่เข้ามารุกรานความเป็นชุมชน
ชุมชนไม้เรียงจึงเป็นชุมชนที่สามารถพิสูจน์ตัวตนที่เด่นชัด ภายใต้คำยอดฮิตของ "ชุมชนเข้มแข็ง" และ "ชุมชนพึ่งตนเอง" ในปัจจุบัน
ตฤณ สุขนวล
เผยแพร่ครั้งแรกใน "วิถีไทย วิถีทางสู่ชุมชนพึ่งตนเอง" พ.ศ.๒๕๔๕
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment